ศัลยกรรมตัดมุมกราม คือการปรับโครงกระดูกใบหน้าให้เรียวซึ่งเป็นการตัดแต่งมุมกรามในบริเวณที่เป็นส่วนเกินของกระดูกที่ยื่นเท่านั้น และจะไม่ได้ทำการตัดส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อภายหลังการผ่าตัดมุมกรามกล้ามเนื้อบริเวณนั้นจะทำการหดตัวเองตามธรรมชาติ
ก่อนการผ่าตัดมุมกราม จะทำการประเมินกระดูกหน้าโดยผ่านการขึ้นแบบจำลองกระดูกโครงหน้าด้วยนวัตกรรม CT Scan เพื่อประเมินความสมดุลของกระดูกหน้าสัดส่วนของความสูงขากรรไกร เป็นต้น
อีกหนึ่งขั้นตอนการผ่าตัดจะทำการวางแผนก่อนการผ่าตัดและประเมินจากภาพ 4มิติช่วยให้สามารถระบุตำแหน่งเส้นประสาทได้อย่างชัดเจน จึงทำให้สามารถป้องกันการกระทบกระเทือนเส้นประสาท เพื่อความปลอดภัยในการศัลยกรรมโครงหน้าสูงสุด ทั้งนี้การผ่าตัดมุมกรามจะตัดออกได้มากหรือน้อยเพียงใดจะต้องพิจารณาตำแหน่งเส้นประสาทเป็นจุดสำคัญหากตัดมุมกรามที่ตำแหน่งสูงมากจนเกินไปอาจทำให้เส้นประสาทได้รับการกระทบกระเทือนได้ซึ่งในแต่ละรายจะมีโครงกระดูกหน้าและจุดเส้นประสาทไม่เหมือนกันจึงต้องพิจารณารายต่อราย
วิธีการผ่าตัดมุมกรามมี 2 วิธี
ผ่าตัดภายนอกช่องปาก
- เปิดแผลบริเวณใกล้กับมุมกราม และเลาะผ่านกล้ามเนื้อ
- หลีกเลี่ยงบริเวณเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อมุมปาก จนถึงกระดูกส่วนที่ต้องการตัด
- จากนั้นใช้เครื่องมือทำการตัดกระดูกออก ตกแต่งมุมกระดูกให้เรียบร้อย จึงเย็บปิดแผล
เนื่องจากวิธีนี้อาการบวมน้อยกว่าซึ่งการผ่าตัดไม่ผ่านเข้าช่องปากไปหากระดูกแต่ทั้งนี้โอกาสกระทบกระเทือนเส้นประสาทค่อนข้างมาก
ผ่าตัดภายในช่องปาก
วิธีนี้เป็นวิธีที่เป็นวิธีที่นิยมมากกว่าผ่าตัดแบบนอกช่องปาก ซึ่งเป็นการผ่าตัดจากด้านในช่องปากจึงต้องใช้เครื่องมือแพทย์เฉพาะในการผ่าตัด บริเวณที่ผ่าตัดมุมกรามหลังฟันกรามซี่สุดท้ายจึงเริ่มเปิดช่องและค่อยๆเลาะเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อ จากนั้นทำการเลาะเยื้อหุ้มกระดูกเพื่อทำการสอดเครื่องมือไปส่องมุมกรามและใช้เครื่องมือตัดกระดูกและเย็บแผลปิด
วิธีนี้จึงเป็นการผ่าตัดที่ค่อนข้างซับซ้อนต้องทำโดยศัลยแพทย์ที่มีประสบการณ์และมีความชำนาญเป็นอย่างมาก เนื่องจากวิธีนี้หลังการผ่าตัดอาการบวมจะมากกว่า แต่จะไม่มีแผลภายนอกช่องปาก และไม่เกิดกระทบกระเทือนของเส้นประสาท
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- งดยาแอสไพริน บุหรี่ กระเทียม น้ำมันปลา หัวหอม ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง อย่างน้อย 2 อาทิตย์ ก่อนการผ่าตัด เนื่องจากมีผลต่อการแข็งตัวของเลือด อาจทำให้เลือดออกมากผิดปกติระหว่างผ่าตัด
- งดน้ำและอาหาร 6 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด
- ซึ่งเป็นการผ่าตัดในโรงพยาบาลควรมีญาติมาเฝ้าหลังการผ่าตัดอย่างใกล้ชิด
- แจ้งข้อมูลแพทย์ให้ครบถ้วนก่อนการผ่าตัด
การดูแลหลังการผ่าตัด
หลังการผ่าตัด ใบหน้าจะบวมอยู่ประมาณ 3 สัปดาห์โดยเป็นปกติ ควรนอนพักฟื้นร่างกายให้เต็มที่และปฏิบัติตัวดังนี้
- ควรงดอาหารในวันแรกหลังผ่าตัด เพื่อป้องกันเศษอาหารเข้าไปอุดตันบริเวณแผล
- ในช่วงแรกควรทานอาหารอ่อนๆ งดอาหารรสจัดและการเคี้ยวของแข็งๆ
- ถ้าเป็นการผ่าตัดภายในช่องปาก ต้องฝึกอ้าปากบ่อยๆ เพื่อป้องกันการเกิดพังผืดรอบๆ กราม และใกล้กับข้อขากรรไกร
- ใช้น้ำเย็นประคบที่บริเวณแก้มประมาณ 7 วัน
- บ้วนปากด้วยน้ำสะอาดบ่อยๆ ช่วยให้คราบเลือดที่แผลหลุดออก
- หลังผ่าตัดอาจมีอาการเขียวช้ำบริเวณคอและใต้คาง ดังนั้นในวันที่ 7 หลังผ่าตัดสามารถใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบเพื่อลดอาการเขียวช้ำได้
- แผลจะเข้าที่ภายใน 2 – 3 สัปดาห์ แต่จะยังมีอาการบวมที่มุมกรามเป็นเวลา 1 – 2 เดือน